เมื่อมีอาการปวดหลัง หลายคนเลือกที่จะเมินเฉยกับอาการเหล่านี้ หรือบางคนแค่หายามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเฉยๆ หากอาการปวดนั้นเป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบหรือปวดตึง ก็ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงมากเท่าไหร่ แต่ถ้าหากอาการปวดหลังร้าวลงมาที่ขาหรือปวดบริเวณอื่นๆร่วมด้วย คงไม่ใช่แค่การปวดหลังธรรมดาแน่นอน เพราะอาการปวดในแต่ละแบบอาจเป็นสัญญาเตือนในการบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายหรือโรคต่างๆได้
อาการปวดหลังแบบไหน บ่องบอกโรคอะไรได้บ้าง
ปวดหลังแบบกว้างๆ ก้มหรือแอ่นหลังไม่ได้ – โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน
โรคนี้ไม่ได้เกิดหรือเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังโดยตรง แต่เป็นกล้ามเนื้อหลังโดยเฉพาะ ส่วนมากเกิดจากการที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อหลังมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุโดนกระแทกที่หลัง การเล่นกีฬาอย่างหนัก จนส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน โดยอาการที่พบจะปวดเกร็งหลัง ปวดตึงหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา รู้สึกปวดหลังแบบกว้างๆ แต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน รวมทั้งอาการยังคล้ายหมอนรองกระดูดทับเส้นประสาทแต่ไม่มีอาการปวดร้าวลงบนขา
ปวดหลังร้าวลงขา ไอ จาม จะยิ่งปวด – โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากเจลในหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังหรือรากประสาท สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่งทำงานท่าเดิมนานๆ รวมไปถึงความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังขั้นรุนแรง ปวดมากจนไม่สามารถขยับตัวได้ ปวดหลังร้าวลงขา ปวดขณะไอ จาม รวมไปถึงอาการอื่นๆ เช่น อาการชา ขาอ่อนแรง อาการผิดปกติในการควบคุมปัสสาวะและอุจจาระ มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวไม่ค่อยได้ เดินลำบาก ขาแข็ง เป็นต้น
ปวดหลังแบบขัดๆ ภายในข้อ ปวดลึก ปวดเสียว – โรคกระดูกสันหลังเสื่อม
ส่วนมากมักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ปี ขึ้นไป โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นเป็นภาวะที่กระดูดสันหลังทรุดตัวจากข้อต่อ Facet joint ที่ทำหน้าที่เชื่อกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว เกิดเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างอยู่ชิดกันมากเกินไป ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการแต่ถ้าข้อต่อนั้นเสื่อมสภาพมากจะทำให้กระดูกสันหลังทรุดตัวเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการปวดหลัง สามรถชี้ระบุตำแหน่งได้ชัดเจน บางครั้งอาจะเกิดกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งค้าง จนนำไปสู่อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบได้
ปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง – โรคไต โรคนิ่ว
โรคที่เกิดจากความผิดปกติภายใน เช่น โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพราะปัสสาวะ หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ทำให้เกิดอาการปวดหลังบริเวณเหนืองบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้โรคกระเพาะ สำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก็ส่งผลต่ออาการปวดหลังได้เช่นกัน แต่โรคเหล่านี้มักจะปวดท้องควบคู่ไปด้วย
หากมีอาการปวดหลังหนักขึ้นไปเรื่อย ๆ จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต หรือต้องรับประทานยาแก้ปวดทุกๆคืน โดยเป็นติดต่อกันมากกว่า 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป อย่าได้เพิกเฉย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจและหาสาเหตุเพื่อจะได้รักษากันต่อไป แต่จะดีกว่ามั้ย หากคุณมีประกันที่จะสามารดูแลคุณได้ทุกปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บอย่าง ฟินชัวรันส์ จาก แมนูไลฟ์ ไว้เป็นทางเลือก ที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ ทั้งยังสามารถสั่งซื้อได้ง่ายๆผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย นอกจากนี้ยังรองรับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในเครือข่ายมากกว่า 364 แห่งทั่วประเทศไทย หากคุณสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต